กลับหน้าเว็บไซต์
main
ตารางราคายาง วันนี้
ณ ตลาดกลาง ยางพาราหาดใหญ่

ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ >> ข่าวประชาสัมพันธ์

เรื่องที่ต้องพึงระวัง หน้ากรีดเสียหาย เสริมความรู้ใน แปลงยางพารามาตรฐาน GAP (24/05/61)


วันที่ 28 พ.ค. 2561

t20180528103251_25517.jpg
t20180528103423_25518.jpg
            ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร (เดิม) แนะนำให้เกษตรกรกรีดยางจากซ้ายบนลงทางขวาล่างทำมุม 30 องศา เพื่อตัดท่อน้ำยางให้มากที่สุด เนื่องจากท่อน้ำยางเรียงตัวเอียงประมาณ 3 องศา จากขวามาซ้าย วิธีกรีดให้กรีดจากเปลือกไม้ด้านนอก กรีดให้ลึกถึงเปลือกด้านในแต่ให้ห่างจากเยื่อเจริญไม่ถึง 0.5 มิลลิเมตร จะสามารถตัดท่อน้ำยางได้มากที่สุด ส่วนสำคัญที่จะให้น้ำยางไหลมากและไหลนาน นอกจากต้นยางจะมีอายุครบ 7 ปี หรือเส้นรอบวงถึง 50 ซม. แล้ว วิธีการกรีดยางที่ถูกวิธีนอกจากคำแนะนำข้างต้น จะต้องไม่ทำให้เยื่อเจริญเสียหาย อย่างไรก็ตามจากการลงพื้นที่ทางภาคอีสานของคณะ GAP ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ และศูนย์วิจัยยางบุรีรัมย์พบว่า ส่วนใหญ่หน้ากรีดเสียหายถึงร้อยละ 50 ของพื้นที่ทางภาคอีสานทั้งหมด บางรายหน้ากรีดเสียหายอย่างรุนแรงหรือเกิดอาการเปลือกแห้ง จึงเปลี่ยนแนวการกรีดใหม่ คือ กรีดจากขวามาซ้ายแทน ซึ่งการกระทำเช่นนี้ไม่ได้ช่วยให้น้ำยางไหลได้เช่นเดิม กลับยิ่งทำให้สิ้นเปลืองหน้ากรีดและหน้ายางเสียหายเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมอีกด้วย
             แต่ทั้งนี้ การที่น้ำยางไม่ไหลมาจากหลายสาเหตุ เช่น ขาดการบำรุงรักษา กรีดบาด กรีดถี่ สภาพพื้นที่ สภาพดินไม่เหมาะสม กรีดยางต้นเล็ก เกิดโรคหรือศัตรูพืช สภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้ง การใช้สารเร่งน้ำยาง การใช้กรดเข้มข้นมากเกินไปในการทำยางก้อนถ้วย เป็นต้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นบางครั้งยากที่จะแก้ไข หากได้ปฏิบัติตามคำแนะนำในการจัดการสวนยางอย่างถูกวิธี ปฏิบัติตามหลักทางการเกษตรดีที่เหมาะสมหรือมาตรฐาน GAP สำหรับยางพารา จะทำให้ได้น้ำยางที่คุ้มค่ากับการลงทุน และยังได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มาตรฐาน สร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรต่อลูกหลาน ต่อประเทศชาติสืบไป
             เกษตรกรท่านใดที่ต้องการขอคำแนะนำ หรือขอรับการรับรองแปลงยางพารามาตรฐาน GAP สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา โทรศัพท์ 0 7489 4307 ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคตะวันออก อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา โทรศัพท์ 0 6390 56139 ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา โทรศัพท์ 0 3813 6225-6 ศูนย์วิจัยยางบุรีรัมย์ อ. สตึก จ. บุรีรัมย์ โทรศัพท์ 0 4466 6079
เรื่อง : ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล
ภาพ : คมกริช กังรัตน์
t20180528103427_25520.jpg

Valid HTML 4.01 Transitional

สงวนลิขสิทธิ์ 2559 - การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand)
เลขที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700 โทร 0-2433-2222 ต่อ 241 แฟ็กซ์ 0-2435-8956, 0-2424-3683