กลับหน้าเว็บไซต์
main
ตารางราคายาง วันนี้
ณ ตลาดกลาง ยางพาราหาดใหญ่

ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ >> ข่าวกิจกรรม

เลี้ยงวัวในสวนยางดีหรือไม่ ที่นี่มีคำตอบ........(15/3/62)


วันที่ 16 มี.ค. 2562

t20190316230859_30676.jpg
t20190316230907_30677.jpg
           ปัจจุบันราคายางพาราค่อนข้างต่ำ เกษตรกรชาวสวนยางต้องสร้างอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้เพียงพอกับค่าครองชีพ ซึ่งมีหลายทางเลือก เช่น การปลูกพืชแซมและพืชเสริมในสวนยาง การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น สัตว์ที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกรส่วนใหญ่ที่พบ คือ วัว
           วัวเป็นสัตว์ใหญ่ สัตว์เท้ากีบ กีบเท้าของวัว จะทำลายระบบรากบริเวณผิวดิน ทำให้ รากแขนง รากอาหารขาด ช่วงอายุยางก่อนเปิดกรีด ยางเล็กจะทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโต ยางหลังเปิดกรีดมีผลต่อการเจริญเติบโตและกระบวนการสร้างน้ำยาง ทำให้ดินอัดแน่น รากอาหารจะชอนไชไม่สะดวก ในช่วงฤดูฝนสัตว์ ที่มี เท้ากีบเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรครารากขาว
            การเลี้ยงวัวในสวนยาง ขณะที่ต้นยางอายุ 3 - 5 ปี วัวจะกัดกินยอดยาง เชือกวัวพันต้นยาง ทำให้ยางหัก เกิดความเสียหาย หากวัวใช้ เขาและลำตัว เสียดสีกับลำต้น จะส่งผลทำให้ลำต้นและเปลือกแตก ส่งผลต่อผลผลิตน้ำยางที่ลดลง
             สำหรับสวนยางหลังเปิดกรีด วัวจะกินน้ำยาง และชนถ้วยน้ำยางทำให้น้ำยางและถ้วยรับน้ำยางได้รับความเสียหาย เชือกวัวจะเกี่ยวพันไปรัดลวดที่รัดต้นยางขาด รางรองรับน้ำยางหล่น แตกขำรุด อุจจาระใส่ถ้วยรับน้ำยางสร้างความรำคาญให้กับคนกรีดยางและอาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าของสวนยางกับเจ้าของวัวในการเรียกค่าชดเชยและค่าเสียหาย
              ดังนั้น หากจะเลี้ยงวัวในสวนยาง เกษตรกรควรทำคอกเลี้ยงให้เป็นระบบ ไม่ควรเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ สิ่งที่ได้จากการเลี้ยงวัวคือ มูลวัว ซึ่งสามารถใช้เป็นปุ๋ยในการใส่ต้นยางได้ เป็นการลดต้นทุนให้กับเกษตรกรต่อไป
เรื่อง : คณพวรรณ ฝ่ายพนอม
t20190316230911_30679.jpg
t20190316230927_30680.jpg
t20190316230933_30681.jpg

Valid HTML 4.01 Transitional

สงวนลิขสิทธิ์ 2559 - การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand)
เลขที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700 โทร 0-2433-2222 ต่อ 241 แฟ็กซ์ 0-2435-8956, 0-2424-3683