กลับหน้าเว็บไซต์
main
ตารางราคายาง วันนี้
ณ ตลาดกลาง ยางพาราหาดใหญ่

ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ >> ข่าวประชาสัมพันธ์

ธนาคารน้ำใต้ดิน แก้ปัญหาน้ำเสียจุดรวบรวมยางก้อนถ้วย เสริมความรู้ใน GAP ยางก้อนถ้วย (27/05/61)


วันที่ 28 พ.ค. 2561

t20180528103641_25541.jpg
t20180528103648_25542.jpg
      ปัญหากลิ่นเหม็นจากน้ำเซรั่มที่ไหลออกจากยางก้อนถ้วยและเกิดการหมักหนมอย่างต่อเนื่อง มักสร้างปัญหาให้กับจุดรวบรวมยางและชุมชนบริเวณใกล้เคียง นับวันยิ่งรุนแรงขึ้น แม้ว่ากรมทางหลวงจะมีมาตรการในการขนยางก้อนถ้วยมายังจุดรวบรวมยางกำหนดให้มีวัสดุรองรับบริเวณพื้นรถไม่ให้น้ำเซรั่มหกเรี่ยราดตามท้องถนนที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและกลิ่นเหม็นได้ อย่างไรก็ตามน้ำเซรั่มที่เกิดขึ้นนี้เป็นสารที่ไม่ใช่ยาง ประกอบไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เมื่อเกิดการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นตามมา ถึงแม้ว่าตัวเนื้อยางเองก็มีกลิ่นเหม็นแล้ว แต่กลิ่นที่เหม็นยิ่งกว่าก็คือน้ำเซรั่มนั่นเอง การจัดการน้ำเซรั่มเบื้องต้นหากมีวิธีการจัดการที่ดี จะสามารถบรรเทากลิ่นเหม็นลงได้มากเลยทีเดียว
 
       ธนาคารน้ำใต้ดิน เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหากลิ่นเหม็นและน้ำเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งวิธีการไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนและที่สำคัญคือใช้เงินลงทุนต่ำ ใช้วัสดุเหลือทิ้งที่มีอยู่ในท้องถิ่น จัดทำเป็นระบบบำบัดน้ำเสียอย่างง่ายแบบระบบปิดไร้อากาศ อาศัยจุลินทรีย์ชนิดไร้ออกซิเจนในการบำบัด เก็บกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียไว้ใต้ดิน เมื่อเกิดการย่อยสลายตามธรรมชาติจะไม่ส่งผลกระทบต่อน้ำใต้ดิน โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้
 
      1. ขุดหลุมให้มีปากกว้าง 2 x 2 เมตร ลึก 1.5 - 2 เมตร ให้ถึงชั้นดินเหนียว โดยก้นหลุมกว้างประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร จากนั้นเจาะบริเวณก้นหลุมให้ลึกลงไปในดินเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว ลึก 1 เมตร
      2. ใส่หินกรวดหรือหินแม่น้ำลงในหลุมที่เจาะให้เต็ม จากนั้นใส่หินขนาด 2 นิ้ว หรือใหญ่กว่านั้น บริเวณก้นหลุม
      3. นำยางรถยนต์ที่ใช้งานแล้วเป็นวัสดุเพื่อสร้างโพรงในบ่อน้ำ แล้วใช้สามทางต่อที่ปลายข้างใดข้างหนึ่ง กับท่อ PVC เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว ยาวประมาณ 2.5 เมตร จำนวน 2 ท่อน วางในโพรง ต่อขึ้นมาจากก้นหลุมเพื่อใช้เป็นตัวระบายอากาศ แล้วใส่ขวดน้ำพลาสติกที่บรรจุน้ำ ¾ ของขวดไว้แล้ว ลงไปในโพรง
     4. นำเศษหิน เศษอิฐแตก ลงให้เต็มบ่อ ไม่แนะนำให้ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้เช่น เศษไม้ ใส่ลงไปในบ่อ จะทำให้การทำงานของธนาคารใต้ดินด้อยประสิทธิภาพลง
    5.ปล่อยน้ำเซรั่มลงไปในบ่อ
เพียงเท่านี้ก็จะได้ระบบบำบัดน้ำเสีย บำบัดกลิ่นเหม็นอย่างง่าย ต้นทุนต่ำ มีประสิทธิภาพในการบำบัดได้ดี ไม่ส่งผลกระทบค่อขุมขนและสิ่งแวดล้อม หากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจสามารถศึกษารูปแบบจริงได้ที่ กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราดงสวรรค์ ต.ดงสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานตลาดกลางยางพาราหนองคาย อ. รัตนวาปี จ. หนองคาย โทรศัพท์ 0 4243 6994
 
เรื่อง : อนุสรณ์ แรมลี/ ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล
ภาพ : อนุสรณ์ แรมลี
 
 
t20180528103654_25544.jpg
t20180528103700_25545.jpg
t20180528103709_25546.jpg
t20180528103717_25547.jpg
t20180528103723_25548.jpg

Valid HTML 4.01 Transitional

สงวนลิขสิทธิ์ 2559 - การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand)
เลขที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700 โทร 0-2433-2222 ต่อ 241 แฟ็กซ์ 0-2435-8956, 0-2424-3683