กลับหน้าเว็บไซต์
main
ตารางราคายาง วันนี้
ณ ตลาดกลาง ยางพาราหาดใหญ่

ข่าวสาร กยท. >> ข่าวประชาสัมพันธ์การยาง RSS

กยท. ดัน ‘น้ำหมักปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบโรคใบร่วง ส่งถึงมือเกษตรกรบึงกาฬ 1,000 ลิตร


วันที่ 15 มี.ค. 2568

    วันนี้ (15 ก.พ. 68) ณ โรงเรียนเซกา อ. เซกา จ. บึงกาฬ – กยท. เดินหน้าถ่ายทอดความรู้ "ส่งเสริมการใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ เพื่อฟื้นฟูสวนยางพาราที่เป็นโรคใบจุดกลมจากเชื้อ Colletotrichum Siamense (ใบร่วงชนิดใหม่) ประจำปี 2568” โดยมี ‘ศ.ดร.นฤมล’ รมว.เกษตรฯ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กษ. และคณะผู้บริหาร กยท. นำโดย ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการ กยท. ร่วมมอบน้ำหมัก 1,000 ลิตร แก่เกษตรกรในพื้นที่ หวัง สร้างการรับรู้-เตือนภัย ลดผลกระทบจากโรคฯ พร้อมมอบเงินอุดหนุนแก่เกษตรกร-สหกรณ์ รวมกว่า 1 ลบ.
    ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับการรายงานการแพร่ระบาดของโรคใบจุดกลมจากเชื้อ Colletatrichum siamense หรือโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา และมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ และ กยท. ร่วมกันดูแลแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง แต่การขนส่งเคลื่อนย้ายและการเคลื่อนไหวของทิศทางลมตามธรรมชาติ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ควบคุมเชื้อดังกล่าวได้ยาก และจากการรายงานล่าสุด พบว่า มีการแพร่ระบาดมาสู่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพบการเกิดโรคในพื้นที่สวนยางพารา 5 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ เลย และนครพนม รวมพื้นที่ 3,685.5 ไร่ ส่งผลให้เจ้าของสวนยางได้รับผลกระทบถึง 259 ราย นำมาสู่การอบรม"การส่งเสริมการใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ เพื่อฟื้นฟูสวนยางพาราที่เป็นโรคใบจุดกลมจากเชื้อ Colletotrichum siamense (ใบร่วงชนิดใหม่) ประจำปี 2568” ที่ กยท. มุ่งมั่นตั้งใจจัดขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬกว่า 1,000 คนในวันนี้ เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางมีความรู้ และมีเครื่องมือในการป้องกันโรค ขอให้ทุกคนร่วมมือกันป้องกันและกำจัดโรคใบร่วงฯ ไม่ให้ระบาดเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผลผลิตยางเป็นไปตามเป้าหมายที่พี่น้องชาวสวนยางตั้งไว้ ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นคงยั่งยืนในอาชีพการทำสวนยางและการทำเกษตรชนิดอื่นต่อไปในอนาคต
    ศ.ดร.นฤมล กล่าวต่อไปว่า กระทรวงเกษตรฯ มีความตั้งใจและมุ่งมั่นอย่างมากในการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยได้ดำเนินการส่งเสริมและยกระดับยางพาราไทย ตามระเบียบปฏิบัติของ EUDR เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้าถึงขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานของเกษตรกรไทย ควบคู่ไปกับการปราบปรามยางพาราเถื่อน เพื่อป้องกันการแทรกแซงราคายางในประเทศ และในอนาคตจะมีการขยายผลการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำเพิ่มเติม อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย เป็นต้น ทั้งนี้ จากผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตามมาตรการต่าง ๆ ที่ผ่านมา พบว่า สามารถสร้างรายได้
ที่เพิ่มขึ้นของชาวสวนยาง รวมกว่า 1 แสนล้านบาท และจะมีการต่อยอดการเพิ่มรายได้เกษตรกร ในรูปแบบการขายคาร์บอนเครดิต เพื่อขยายโอกาสการเพิ่มรายได้เกษตรกรสวนยาง และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามนโยบายกระทรวงเกษตร ฯ /ด้าน นายสุขทัศน์…
    ด้าน นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการป้องกันกำจัดโรคใบร่วงชนิดใหม่ว่า ที่ผ่านมา กยท. ได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรชาวสวนยาง ในการป้องกันกำจัดโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum siamense ทั้งการเฝ้าระวัง การยับยั้ง ตลอดจนการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่โรคระบาดรุนแรง ซึ่งก่อนหน้านี้พบการระบาดเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่ภาคใต้ และขณะนี้เริ่มมีการแพร่กระจายมายังพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพบการแพร่ระบาด ในจังหวัดบึงกาฬ จำนวน 581 ไร่ ซึ่ง กยท. เล็งเห็นว่าควรเร่งป้องกันกำจัดและควบคุมให้ได้มากที่สุด เพื่อลด การแพร่กระจายไปยังพื้นที่ใกล้เคียงอื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การป้องกันกำจัดโรคใบร่วง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น กยท. จึงเดินหน้าบริหารจัดการโรคฯ แบบผสมผสานและครบวงจร โดยเน้นการขยายผลการบริหารจัดการ
สู่การปฏิบัติในสวนยาง ผ่านการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึกษาในวันนี้ โดย กยท. ส่งเสริมการใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำซึ่งมีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูงมาช่วยฟื้นฟูสวนยางพาราที่ประสบปัญหาโรคใบร่วง ซึ่งสามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน สร้างความแข็งแรงให้กับต้นยางพารา โดย กยท. ได้มอบน้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ จำนวน 1,000 ลิตร ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดบึงกาฬ ในครั้งนี้ด้วย
    นอกจากนี้ กยท. ยังมอบเงินอุดหนุนตามมาตรา 49(3) แก่เกษตรกรในโครงการขุดเจาะบ่อบาดาล ติดตั้งเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์และหอสูงพร้อมถังเก็บน้ำ 2,000 ลิตร จำนวน 6 ราย รายละ 97,000 บาท เงินอุดหนุนตามมาตรา 49(3) โครงการก่อสร้างโกดังรวบรวมผลผลิตยางพารา แก่สหกรณ์กองทุนสวนยาง หนองเดิ่นยางพารา จำกัด และสหกรณ์กองทุนสวนยางบุ่งคล้า-กูวัว จำกัด จำนวนแห่งละ 291,000 บาท และ โครงการจัดซื้อสถานีตรวจวัดสภาพอากาศ แก่สหกรณ์กองทุนสวนยางห้วยก้านเหลือง จำกัด จำนวน 350,000 บาท
t20250317092235_52373.jpg
t20250317092245_52374.jpg
t20250317092257_52375.jpg
t20250317092307_52376.jpg
t20250317092321_52377.jpg
t20250317092329_52378.jpg
t20250317092343_52379.jpg
t20250317092352_52380.jpg
t20250317092404_52381.jpg
t20250317092424_52382.jpg
t20250317092433_52383.jpg
t20250317092443_52384.jpg
t20250317092456_52385.jpg
t20250317092507_52386.jpg
t20250317092520_52387.jpg
t20250317092531_52388.jpg
t20250317092540_52389.jpg

Valid HTML 4.01 Transitional

สงวนลิขสิทธิ์ 2559 - การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand)
เลขที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700 โทร 0-2433-2222 ต่อ 241 แฟ็กซ์ 0-2435-8956, 0-2424-3683